วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ปลูกผักในภาชนะต่างๆ

 
ปลูกผักในภาชนะต่าง ในที่นี้มี ผักบุ้งจีนอายุ 10  วัน ,บวบหอม อายุ 15 วัน , มะเขือ ,ชะพลู ,ใบเตย ,ผักชี  เอาเป็นว่าผู้เขียนเลือกชนิดพืชปลูก โดยใช้ความชอบส่วนตัว  ฤดูกาล  น้ำ  บริเวณนั้นมีแสงแดดส่องมากน้อยเพียงไร  เพราะต้นไม้ก็เหมือนคน  แต่ละชนิดมีความชอบต่างกัน 
 



วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ผลงานของเรา.....สวนชื้นในขวดใสหลากหลายรูปแบบ เหมาะเป็นของขวัญ ของฝาก

 ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 1

 

 


 ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 2



 

ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 2  ทั้งขวด 



 ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 3  ทั้งขวด

ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 4  ทั้งขวด

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เพิ่มดีไซน์ให้สวนครัว

เพิ่มดีไซน์ให้สวนครัว


"คอนเซ็ปต์ก็เหมือนสวนสวยงามทั่วไป แต่ว่าเราใช้พวกพืชผักสวนครัวมาแทนให้ได้ประโยชน์เพิ่ม เอามากินได้ด้วย หลักการจัดก็เหมือนสวนธรรมดาน่ะ ดูเรื่องมุมมอง มีจังหวะการจัดวางต้นไม้ จริง ๆ แล้วก็ยากกว่าด้วย เพราะมีต้นไม้ให้เลือกใช้น้อย…"

"…สีสันก็อาจจะไม่ฉูดฉาดเหมือนสวนไม้ประดับที่มีต้นไม้ให้เลือกใช้มาก" คือข้อจำกัดของสวนครัวในบ้านที่ไม่อาจตอบสนองในด้านภาพที่เห็นให้กับผู้เป็นเจ้าของได้เต็มร้อย แต่เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง ข้อจำกัดนี้ก็อาจกลายมาเป็นข้อดีขึ้นมา ในฐานะที่ช่วยลดตัวเลือกในการหาต้นไม้มาจัดสวนของเจ้าของบ้าน เพื่อจะได้เอาเวลานั้นไปหาของอย่างอื่นมาช่วยแต่งสวนเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ในสวน หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ที่จะช่วยให้สวนมีชีวิตชีวาขึ้น

"พืชสวนครัวที่เราเลือกมาใช้ เราก็อาจแทนค่าเป็นไม้ประดับได้ อย่างเฮลิโคเนียก็ใช้พวกขิงข่าแทน กล้วยบัวก็เป็นกล้วยน้ำว้า เฟิร์นก็เป็นผักชีฝรั่ง จริง ๆ แล้วการจัดสวนครัวในรูปแบบสวนประดับนี่มันมีข้อดีด้วยนะ อย่างพวกแมลงที่มาทำลายจะน้อยกว่าสวนผัก ที่เป็นแปลง ๆ เพราะเราปลูกผสมผสานหลายอย่าง แมลงที่มาก็จะหลง แมลงชนิดหนึ่งจะมีพืชที่กินได้กลุ่มหนึ่ง พอกินต้นนี้อยู่ แล้วเลยไปเจออีกชนิดหนึ่ง ก็จะหลงแล้ว นึกว่าหมดแล้ว ก็จะบินไปหาแหล่งใหม่ ไม่ควรใช้สารเคมีเลยนะครับ สวนครัวในบ้านแบบนี้ ถ้าเห็นแมลงมาเกาะก็ให้เด็ดทิ้งไป"

การจัดสวนครัวอย่างนี้ แม้จะปลูกผสมด้วยพืชผักหลายชนิด แต่ก็จะไม่ปลูกรวมกัน จะปลูกเป็นกลุ่ม พืชสวนครัวแต่ละชนิดมีอายุไม่เท่ากัน เวลาเราเปลี่ยน เราก็จะเปลี่ยนได้ง่าย ถ้าจะให้สวยนาน ก็ต้องเลือกต้นที่ไม่ใช่ว่าเด็ดไปแล้วใบจะหายไปเลย ต้องเลือกที่ยังมีใบทีพอให้ภาพสวนไม่เปลี่ยน เช่น กะเพรา โหระพา ตะไคร้ ส่วนพวกที่ตัดแล้วใบหาย เช่น คะน้า ผักบุ้ง ก็อาจปลูกแซม ๆ ไว้ หรือถ้ามีที่ว่างก็ให้ทำเป็นแปลงไปเลย

เป็นอีกสองข้อจำกัด แต่ก็เป็นเหมือนหลักการที่ช่วยกำหนดรูปแบบการจัดไปด้วย จะได้ไม่ต้องพบกับปัญหาภายหลัง ซึ่งเรื่องปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องแสงแดด ที่ต้องไม่ร่มเกิน และก็ไม่ควรจะมากไป สวนครัวต้องการแดดค่อนข้างมาก แต่ผมว่าแสงสักครึ่งวันนี่กำลังดี จะเช้าหรือบ่ายก็ได้ ดีกว่าเต็มวันด้วยซ้ำไป ถ้าแดดเต็มวัน ตัวเนื้อผักจะแข็งแห้งเกินไป ไม่ค่อยอวบน้ำ ถ้าครึ่งวันนี่จะอวบกว่า จะกรอบกว่า

น้ำมาก แต่ไม่แฉะ ไม่ขัง คือปริมาณที่พืชผักสวนครัวชอบ รดน้ำ 1 ครั้งถ้าแดดไม่จัด หรือ 2 ครั้งถ้าวันนั้นแดดจัด ส่วนเรื่องการดูแลตัดแต่งนั้นง่ายและทำเหมือนไม่ได้ทำ

การเด็ดไปใช้ การเด็ดไปกิน ก็เหมือนเป็นการตัดแต่ง เราใช้บ่อย ๆ ก็เป็นการดูแลไปในตัว แต่ก็ต้องเลือกใช้ให้กระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ ส่วนปุ๋ยก็ให้ใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก สลับกับปุ๋ยเคมีบ้าง ตัวโครงสร้างดินไม่เสียหายอะไร




ที่มา:บ้านและสวน

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

"ตัวอย่างแบบสวนในภาชนะที่เราทำ"

 













   "แคลตัวในแก้ว 1" ราคา 00.00 บ. 

















                 

 

 

 

 

   "แคลตัสในแก้วใส 2" ราคา 00.00 บ.














 

  "ต้นไม้ในแก้วใส 3"  ราคา  00.00  บ.




วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การทำปุ๋ยหมักใช้เองง่ายๆ


    การผลิตปุ๋ยคอก โดยใช้สารเร่ง พด.1

ส่วนผสมในการผลิต
-มูลไก่ 300 กิโลกรัม
-รำละเอียด (รำข้าว) 30 กิโลกรัม
-สารเร่ง พด.1 1 ซอง (100กรัม)
-ฟางข้าว (ใช้สำหรับคลุมกองปุ๋ยหมัก)
 
วิธีทำ
1.ผสมมูลไก่ รำละเอียดและสารเร่ง พด.1ให้เข้ากัน รดน้ำปรับความชื้นประมาณ 60%
2.ตั้งกองปุ๋ยคอกให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร
3.นำฟางข้าวมาคลุมกองปุ๋ยคอกไว้เพื่อรักษาความชื้นและธาตุอาหารในกองปุ๋ยหมัก
4.ในระหว่างการหมักไม่ต้องกลับกองปุ๋ยคอก
5.ปล่อยให้เกิดการย่อยสลายเป็นเวลา 7 วันจึงนำไปใช้ในการปลูกพืชได้
􀂄
การใช้ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
1.การเตรียมแปลงเพาะกล้า ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา1 ตัน/ไร่
2.ช่วงการเจริญเติบโตของพืช ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 1 ตัน/ไร่

 ข้อมูลข้างต้นต้องขอบคุณกรมพัฒนาที่ดินนะคะ   ผู้เขียนลองทำดูแล้วง่ายมากๆ เหมาะกับการทำใช้เองเล็กๆน้อย  ถ้าสนใจลองทำก็ลองลดอัตรส่วนต่างๆลงนะคะ  คราวหน้าจะนำวิธีการทำฮอร์โมนพืชมาฝากนะคะ