วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

การปลูกผัก ต้นไม้ ในพื้นที่จำกัด

การปลูกผักกินเองเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าจริงหรือ?      
           จะดีแค่ไหนถ้าเรามีโอกาสได้กินผักปลอดสารพิษจากสวนหลังบ้านของเราเอง  ใครๆก็ฝันเช่นนี้  โดยเฉพาะคนรักสุขภาพ  ที่ทุกวันนี้ต้องเสียเงินมิใช่น้อยในการซื้อผักปลอดสารพิษในราคาแพง  ที่มีขายในท้องตลาด  แม้จะติดป้ายปลอดสารพิษ  แต่แน่ใจแค่ไหนว่าจะปลอดสารพิษจริงๆ  เพราะมีข้อมูลจากหลายแหล่งที่ระบุว่าผู้ขายนำผักที่ปลูกด้วยสารเคมีนั่นแหล่ะมาวางขายแล้วระบุว่าเป็นผักออร์แกนิกส์  เพื่อเพิ่มราคาในการขาย  โดยเฉพาะผู้เขียนเองซึ่งเคยทำงานในบริษัทผลิตผักไฮโดรโพรนิกส์ แล้วจำหน่ายเป็นผักปลอดสารพิษตามห้างชื่อดังในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด  โดยติดป้ายผักปลอดสารพิษ  แต่แท้จริงแล้วมีการฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงไม่ยิ่งหย่อนไปว่าเกษตกรไทยทั่วไป หรือบางรายฉีดพ่นยิ่งกว่าโดยเฉพาะผักสลัด หรือผักที่เป็นพันธุ์จากต่างประเทศไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมแบบบ้านเรา  แต่เมื่อผู้บริโภคต้องการและมีราคาแพงผู้ผลิตจำเป็นต้องผลิตเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้า ทั้งนี้ก็เพื่อผลกำไรนั่นเอง

            ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับการรับประทานผักปลอดสารพิษกันมากขึ้น  การปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินแพงๆจ้างมืออาชีพมาออกแบบให้  เราสามารถทำเองได้ที่บ้าน  อีกทั้งยังสามารถประยุกต์สวนผักให้สวยงามเป็นสวนหย่อมหลังบ้านแบบสบายๆ ได้อีก
            "พูดง่ายแต่ทำยาก" หลายท่านคงคิดเช่นนั้น  ถ้าจะปลูกจริงๆไม่ใช่เรื่องง่าย  ต้องอาศัยความรัก  ความตั้งใจมากพอสมควร  เพราะวิถีชีวิตคนปัจจุบันมิได้เปิดโอกาสให้เราทำเช่นนั้นได้  แต่อย่างไรก็ตาม  ผู้เขียนก็ยังคงสนับสนุนการปลูกผักไว้กินเองดีกว่าการซื้อหา  โดยเฉพาะปัจจุบัน  วัสดุและอุปกรณ์สามารถหาซื้อได้ง่าย  ไม่ต้องลงมือไปทำเองทุกขั้นตอน  อย่างน้อยไม่ได้ผักกิน  แต่ยังได้ออกกำลังกาย   เราไม่จำเป็นต้องปลูกทุกอย่าง  แต่ปลูกสิ่งที่ต้องกินเป็นประจำก็เพียงพอ  เช่น  พริก  กะเพรา
 
                   

ตัวอย่างการปลูกผักในพื้นที่จำกัด

"สุขภาพดีเริ่มต้นด้วยการบริโภคผักปลอดสารเคมี 


สนใจปลูกผักปลอดสารเคมีติดต่อขอคำปรึกษาได้ฟรี หรือต้องการวัสดุอุปกรณ์ปลูกผักปลอดสารเคมี 
ติดต่อคุณปิยมน  piyamon_1234@hotmail.co.th  ร้านนครเกษตร  อำเภอโกรกพระ  จังหวัดนครสวรรค์  60170  
    

การปลูกผักคอนโด


การปลูกผักคอนโด
       เป็นการปลูกผักบนที่จำกัด ซึ่งเหมาะสำหรับสังคมในยุคปัจจุบัน ที่ต้องการปลูกผักไว้รับประทานเอง  แต่มีพื้นที่จำกัด  การปลูกผักคอนโด มีหลายวิธี แต่ก่อนอื่นผู้ที่ต้องการทำต้องมีคอนโดสำหรับใช้ในการปลูกผักก่อน  สำหรับคอนโดที่ใช้ในการปลูกผักนั้นมีหลายแบบ หลากหลายไอเดียร์  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมของผู้ที่ต้องการปลูกแต่ละท่าน ว่าต้องการแบบใด ดังตัวอย่างในภาพด้านล่าง

 
ตัวอย่างการทำคอนโดผักแบบต่างๆ

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผักคอนโด
1.คอนโดผัก อาจทำเองหรือสั่งทำตามแบบที่เราต้องการ
2.เมล็ดผักที่เราต้องการปลูกเช่น  ผักชี  หอมแบ่ง  คะน้า  ผักที่เลือกปลูกต้องมีระบบรากตื้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่จำกัด
3.วัสดุปลูก ผู้ปลูกสามารถหาซื้อตามท้องตลาดได้ทั่วไป แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
4.ปุ๋ยน้ำชีวภาพ,ปุ๋ยคอก ,สารชีวภาพสำหรับควบคุมศัตรูพืช
5.และวัสดุอื่นๆ เช่น  ช้อนปลูก ซ่อมพรวนดิน  พลั่วตักดิน  สายยาง  บัวรดน้ำ 
 ในการปลูกผักคอนโดผู้ปลูกสามารถใช้เมล็ดปลูกได้โดยตรงหรือการใช้ต้นกล้าปลูก  ทั้งนี้สามารถหาซื้อเมล็ดได้ตามท้องตลาดตามต้องการ

วิธีปลูก(กรณีปลูกผักคอนโดในลางไม้หรือท่อพีวีซีแบบอินทรีย์)
1.ใช้ใยมะพร้าวลองก้นลาง  แล้วใส่ดินผสมลงไปเกือบเต็มขอบ
2.หยอดเมล็ด ผักที่ต้องการ ให้ระยะห่างเหมาะสมตามชนิดของผัก  รดน้ำตามให้ชุ่ม  3-4 วันผักเริ่มงอก
3.การดูแลรักษาเหมือนการปลูกผักทั่วไป
4.เมื่อเก็บเกี่ยวผักเรียบร้อยแล้ว  ทำความสะอาดดินที่ปลูก  กำจัดวัชพืช  ใส่ปุ๋ยหมัก แล้วคลุกเคล้าดินให้เข้ากัน  ดินที่ปลูกสามารถใช้ปลูกพืชได้ 1- 2  ครั้ง  จากนั้นต้องเปลี่ยนดินปลูกโดยการนำดินเก่า ออก
แล้วใส่ดินใหม่ลงไป ในการปลูกผักรอบต่อไป ด้านล่างเป็นตัวอย่างการทำคอนโดผักและการทำปุ๋ยหมัก
http://www.youtube.com/watch?v=aS2zrynOjrw การทำปุ๋ยหมัก
http://www.youtube.com/watch?v=7jfFNXO89ZU การปลูกผักคอนโด


สนใจขอคำแนะนำการปลูกผักคอนโด  ติดต่อคุณปิยมน  piyamon_1234@hotmail.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557

ผักไมโครกรีน

ไมโครกรีนพื้นบ้าน สุวรรณภูมิปลูกผักไทย
รายงานพิเศษ



ในขณะที่กระแสความตื่นตัวเรื่องสุขภาพกำลังได้รับความนิยมสูง ทำให้การบริโภคผักอนามัย หรือผักปลอดสารพิษ ผักปลอดยาฆ่าแมลง พลอยได้รับความนิยมมากขึ้นตามกระแสความตื่นตัวดังกล่าว

สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ จึงได้จับกระแสรักสุขภาพ โดยได้ศึกษาและวิจัยถึงชนิดของพืชพื้นบ้านที่เหมาะสมในการผลิตผักไมโครกรีน

รศ.อุดมลักษณ์ มัจฉาชีพ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผักไมโครกรีนจัดว่าเป็นรูปแบบใหม่ ในการบริโภคผักของคนไทย ส่วนใหญ่เป็นไมโครกรีนจากผักต่างประเทศ คณะผู้วิจัยจึงมองว่า ผักพื้นบ้านของไทยนั้นก็สามารถนำมาปลูกในลักษณะของผักไมโครกรีนได้

เนื่องจากไมโครกรีนเป็นการผลิตผักในรูปต้นกล้าขนาดเล็กเพาะจากเมล็ดผักสมุนไพร และเมล็ดพืชอื่นๆ มีขนาดสูงของลำต้นประ มาณ 1-2 นิ้ว ประกอบด้วยลำต้นและใบจริง ต้นกล้าเหล่านี้หลายชนิดเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน และสารแอนตี้ออกซิแดนต์สารอาหารที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ เกิดขึ้นภายในกระบวนการงอกของต้นกล้า โดยเปลี่ยนสารอาหารที่สะสมในเมล็ด ไปเป็นรูปที่ใช้ประโยชน์ได้
จุดเด่นของผักไมโครกรีนคือ ผลิตได้ตลอดปี การผลิตแต่ละรุ่น ใช้ระยะเวลาสั้น ปลอด ภัยจากสารเคมี เป็นทางเลือกในการบริโภคผักของผู้ใส่ใจสุขภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าพืชพื้นบ้านอีกด้วย
รศ.อุดมลักษณ์กล่าวต่ออีกว่า การศึกษาในครั้งนี้ เพื่อหาพืชพื้นบ้านที่มีความเหมาะสมในการผลิตไมโครกรีน โดยเลือกชนิดของพืชพื้นบ้านที่มีจำนวนเมล็ดมาก มีเปอร์เซ็นการติดเมล็ดสูง ให้ต้นกล้ามีลักษณะน่ารับประทาน และรสชาติดี




นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของผักไมโครกรีนที่คัดเลือก โดยวิเคราะห์ ความชื้น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใย วิตามินซี เถ้า และวิเคราะห์หาปริมาณคลอโรฟิลล์ด้วยสารไดเมททิล ฟอร์มาไมด์

ผลจากการทด ลองสามารถคัดเลือกได้ 3 ชนิด ได้แก่ ผักขี้หูด ผักเขียวน้อย และโสน ซึ่งมีลักษณะอวบ ลำต้นสีขาวใบสีเขียวสด น่ารับประทาน

นอกจากนี้ จากการทดสอบการชิมและการยอมรับโดยรวม พบว่าอยู่ในเกณฑ์ ชอบ-ชอบมาก

ซึ่งโดยรวมแล้วผักขี้หูด มีกลิ่นฉุนและเฝื่อน เหมาะกินกับสลัดน้ำข้น หรือเหมาะรับประทานกับสเต๊กปลาจะทำให้รสชาติดีขึ้น และยังเหมาะกับอาหารไทยจำพวกลาบได้อีกด้วย

ผักเขียวน้อยมีจุดเด่นคือ รสชาติคล้ายวาซาบิ เหมาะรับประทานกับน้ำสลัดแบบใส และเหมาะรับประทานกับอาหารญี่ปุ่น เช่น ซูชิ

ส่วนโสนมีความสด กรอบ คล้ายถั่วงอก กินได้กับอาหารทุกประเภท

ผักทั้ง 3 ชนิด ยังมีสรรพคุณทางยาหลายประการ

ผักขี้หูด ใบและต้นช่วยเจริญอาหาร ขับลม เมล็ดใช้เป็นยา ช่วยย่อย แก้ร้อน ลดอาการกระหายน้ำ เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

ผักเขียวน้อย มีสรรพคุณในการยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการสร้าง lipid peroxide ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ต้านการอักเสบ กระตุ้นการเจริญของเส้นผม มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร มีเส้นใยสูง
ส่วนของโสน ดอกเป็นยาฝาดสมาน ใบตำผสมกับคนประส่ง และดินสอพอง พอกฝีแก้ปวด ถอนพิษ ลำต้นเผาแช่น้ำดื่มเพื่อขับปัสสาวะ
ได้เวลาหันมากินผักไทยกันแล้ว

สนใจ ผักไมโครกรีน  ติดต่อ  piyamon_1234@hotmail.co.th



ปุ๋ยคอก

ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากการเลี้ยงสัตว์และได้มีการนำ มาใช้ทางการเกษตรอย่างแพร่หลายเป็นเวลานานหลายปีมาแล้ว ปุ๋ยคอกไม่เพียงแต่จะให้อินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้น

ช่วยเพิ่มความคงทนให้แก่เม็ดดินเป็นการลดการชะล้างพังทลายของดินและช่วย รักษาหน้าดินไว้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ซึ่งมีผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของจุลินทรีย์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยเพิ่มปริมาณของ จุลินทรีย์ในดินอีกด้วย ในอดีตการใช้ปุ๋ยคอกเป็นไปอย่างง่าย ๆ ตามธรรมชาติโดยเกษตรกรจะเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร ม้า แพะ แกะ ฯลฯ ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะกระจัดกระจายไปตามท้องทุ่ง เมื่อสัตว์ขับถ่ายมูลสัตว์ออกมาก็จะตกหล่นบนพื้นดินโดยตรง ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยคอกแบบประหยัด 


วิธีการใส่ปุ๋ยคอกสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้


1. ใส่รองก้นหลุม เป็นวิธีการประหยัดและมีประสิทธิภาพเช่นกัน เช่น การรองก้นหลุมปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ หลุมปลูกแตงโมโดยทั่วไปจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก มูลวัว และกระบือ รองก้นหลุม ๆ ละ 5-10 กิโลกรัม/หลุม
 

2. ใส่ในร่องรอบรัศมีพุ่ม สำหรับในสวนไม้ยืนต้น เช่น สวนส้ม เงาะ ทุเรียน เป็นต้น จะทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์รอบต้นไม้ในร่องรัศมีพุ่มและขยายออกไปทุก ๆ ปี ตามรัศมีพุ่มจนกระทั่งต้นไม้โตเต็มที่

 
3. ใส่แบบหว่าน สำหรับสวนไม้ผลที่โตแล้วซึ่งในสวนเหล่านี้ จะมีหญ้า วัชพืชขึ้นคลุม เพียงแต่มีการตัดถางแล้วปล่อยคลุมดินโดยไม่มีการไถหรือสับกลบ โดยส่วนใหญ่กสิกรนิยมหว่านมูลโคและกระบือ

 
4. กองใต้ร่มเงาใช้สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่มี C/N เรโชสูง ๆ สลายตัวช้าใช้ กับพืชที่ต้องการคุณภาพของผลผลิต เช่น กล้วย ไผ่ หน่อไม้ฝรั่งและในสวนไม้ผล

 
5. ใส่แบบหว่านแล้วสับกลบ เหมาะสำหรับพืชอายุสั้น (Annual crops) เช่นพืชผัก พืชไร่ต่าง ๆ
 

6. ใส่ในร่องแถวปลูกพืช เป็นวิธีการประหยัดและมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเป็นแถว ทั้งพืชอายุสั้นและอายุยาว (Annual and perenial Crops) และมีปริมาณปุ๋ยอินทรีย์จำกัด


 
จำหน่ายขี้วัว  แกลบ  ถุงละ  25  บาท ที่ตั้ง  อำเภอโกรกพระ  จังหวัดนครสวรรค์  สนใจติดต่อ  สนใจติดต่อ piyamon_1234@hotmail.co.th

ปุ๋ยคอก- -ขี้วัว

ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากการเลี้ยงสัตว์และได้มีการนำ มาใช้ทางการเกษตรอย่างแพร่หลายเป็นเวลานานหลายปีมาแล้ว ปุ๋ยคอกไม่เพียงแต่จะให้อินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้น

ช่วยเพิ่มความคงทนให้แก่เม็ดดินเป็นการลดการชะล้างพังทลายของดินและช่วย รักษาหน้าดินไว้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ซึ่งมีผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของจุลินทรีย์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยเพิ่มปริมาณของ จุลินทรีย์ในดินอีกด้วย ในอดีตการใช้ปุ๋ยคอกเป็นไปอย่างง่าย ๆ ตามธรรมชาติโดยเกษตรกรจะเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร ม้า แพะ แกะ ฯลฯ ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะกระจัดกระจายไปตามท้องทุ่ง เมื่อสัตว์ขับถ่ายมูลสัตว์ออกมาก็จะตกหล่นบนพื้นดินโดยตรง ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยคอกแบบประหยัด 


 
วิธีการใส่ปุ๋ยคอกสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้


1. ใส่รองก้นหลุม เป็นวิธีการประหยัดและมีประสิทธิภาพเช่นกัน เช่น การรองก้นหลุมปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ หลุมปลูกแตงโมโดยทั่วไปจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก มูลวัว และกระบือ รองก้นหลุม ๆ ละ 5-10 กิโลกรัม/หลุม

2. ใส่ในร่องรอบรัศมีพุ่ม สำหรับในสวนไม้ยืนต้น เช่น สวนส้ม เงาะ ทุเรียน เป็นต้น จะทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์รอบต้นไม้ในร่องรัศมีพุ่มและขยายออกไปทุก ๆ ปี ตามรัศมีพุ่มจนกระทั่งต้นไม้โตเต็มที่

3. ใส่แบบหว่าน สำหรับสวนไม้ผลที่โตแล้วซึ่งในสวนเหล่านี้ จะมีหญ้า วัชพืชขึ้นคลุม เพียงแต่มีการตัดถางแล้วปล่อยคลุมดินโดยไม่มีการไถหรือสับกลบ โดยส่วนใหญ่กสิกรนิยมหว่านมูลโคและกระบือ

4. กองใต้ร่มเงาใช้สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่มี C/N เรโชสูง ๆ สลายตัวช้าใช้ กับพืชที่ต้องการคุณภาพของผลผลิต เช่น กล้วย ไผ่ หน่อไม้ฝรั่งและในสวนไม้ผล

5. ใส่แบบหว่านแล้วสับกลบ เหมาะสำหรับพืชอายุสั้น (Annual crops) เช่นพืชผัก พืชไร่ต่าง ๆ

6. ใส่ในร่องแถวปลูกพืช เป็นวิธีการประหยัดและมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับพืชที่ปลูกเป็นแถว ทั้งพืชอายุสั้นและอายุยาว (Annual and perenial Crops) และมีปริมาณปุ๋ยอินทรีย์จำกัด


 
 ปุ๋ยขี้วัว    จำหน่ายถุงละ  20  บาท 
แกลบ    จำหน่ายถุงละ  20  บาท
สนใจติดต่อ piyamon_1234@hotmail.co.th

ปุ๋ยคอก


การใช้ประโยชน์มูลสัตว์เป็นปุ๋ยให้กับพืชอย่างมีประสิทธิภาพ
      ของเสียที่ได้จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่ ได้แก่ มูลสัตว์ ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นของแข็งนั้นประกอบด้วยเศษของพืชและสัตว์ซึ่งเป็นอาหารที่สัตว์กินเข้าไปแล้วไม่สามารถย่อยหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้หมดจึงเหลือเป็นกากที่สัตว์ขับถ่ายออกมา โดยเศษอาหารเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการย่อยสลายไปบางส่วนแล้วในทางเดินอาหาร ดังนั้น ในส่วนที่เป็นมูลสัตว์จึงยังอุดมไปด้วยธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้หลายชนิด ซึ่งเมื่อรวมกันเข้าก็จะมีองค์ประกอบที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารที่สมบูรณ์ของพืชได้ ส่วนมูลสัตว์แต่ละชนิดจะมีธาตุอาหารชนิดใดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สัตว์ชนิดนั้น ๆ กินเข้าไปเป็นปัจจัยสำคัญ รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ระบบการย่อยอาหารของสัตว์ วิธีการให้อาหารรวมทั้งการจัดการรวบรวมมูลสุกรและของเสียในฟาร์มด้วย
จากการศึกษาปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ พบว่ามูลสัตว์แต่ละชนิดมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุอาหารในปริมาณที่แตกต่างกัน

            เมื่อเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารในมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ จะเห็นว่ามูลสุกรและกากตะกอนของมูลสุกรจากบ่อหมักก๊าซชีวภาพ รวมทั้งมูลของไก่ไข่มีปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง แมงกานีสและสังกะสีมากกว่ามูลโค ขณะที่มูลโคมีปริมาณธาตุโพแทสเซียมและโซเดียมมากกว่ามูลสุกร อย่างไรก็ตามปริมาณธาตุอาหารเหล่านี้อาจมีความผันแปรไปตามชนิดของวัตถุดิบอาหารรวมทั้งแร่ธาตุที่เสริมลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์นั้นด้วย
 
การทำน้ำสกัดจากมูลสัตว์
น้ำสกัดมูลสัตว์ ได้จากการนำมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลสุกร มูลโค บรรจุลงในถุงไนลอน (มุ้งเขียว) แล้วแช่ในน้ำ อัตราส่วนมูลสุกร 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ปิดฝาถังให้สนิท และหมักไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วยกถุงที่บรรจุมูลสุกรออกจากถังจะได้น้ำสกัดมูลสัตว์สีน้ำตาลใส ซึ่งควรบรรจุเก็บไว้ในถังหรือภาชนะที่มีฝาปิด น้ำสกัดมูลสัตว์ที่ได้สามารถหมักเก็บไว้ใช้ได้นาน ซึ่งจะทำให้น้ำสกัดใสยิ่งขึ้น และมีธาตุอาหารในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในปริมาณมากยิ่งขึ้น การทำน้ำสกัดมูลสัตว์จะทำให้ประหยัดกว่าการใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยทางดินโดยตรง เนื่องจากมูลสัตว์แห้ง 1 กิโลกรัม ทำน้ำสกัดได้ประมาณ 8 ลิตร นำน้ำสกัดส่วนใสที่ได้มาเจือจางกับน้ำได้ 10 – 20 เท่า เป็น 80 – 160 ลิตร เพื่อใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินหรือฉีดพ่นทางใบ ส่วนกากของมูลสัตว์ที่เหลือ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยทางดินได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลาหมักนานถึง 45 วัน เหมือนปุ๋ยหมักทั่วไป
น้ำสกัดมูลสัตว์มีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช สามารถใช้เป็นปุ๋ยรดทางดินและฉีดพ่นทางใบเพื่อเร่งการเจริญเติบโต การเพิ่มผลผลิตของพืช อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหารของพืชได้ น้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุเกือบทุกธาตุในปริมาณมากกว่าที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่และน้ำสกัดมูลโคนม ยกเว้นโพแทสเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลไก่ไข่มากกว่าเล็กน้อย และแคลเซียมที่พบในน้ำสกัดมูลโคนมมากกว่า ดังนั้น หากต้องการใช้น้ำสกัดมูลไก่ไข่หรือโคนมเป็นปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ ควรจะใช้ในอัตราส่วนมากกว่าน้ำสกัดมูลสุกร เนื่องจากน้ำสกัดมูลสุกรมีปริมาณธาตุอาหารมากกว่าหรือเข้มข้นกว่าน้ำสกัดมูลโคนม

การใช้ประโยชน์มูลสัตว์ในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการทำนาข้าว
1.1 การหมักตอซังโดยไม่ต้องเผา มีประโยชน์ คือ สิ่งที่มีชีวิตในดินรวมทั้งจุลินทรีย์ดินทำกิจกรรมได้ตามปกติ ทำให้ดินมีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารพืชเพิ่มขึ้น ส่วนของเนื้อดินละเอียดขึ้น เดินแล้วนุ่มเท้า ดินโปร่ง ทำให้รากต้นข้าวแผ่กระจายในดินได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ซึ่งการหมักจะทำได้ทันทีหลักการเก็บเกี่ยว โดยเกลี่ยฟางให้กระจายทั่วแปลง และปฏิบัติดังนี้
- หว่านมูลสัตว์แห้ง เช่น มูลสุกร มูลโคอัตรา 250 กก.ต่อไร่ ให้ทั่วแปลง
- ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 (หมักจากเศษผัก ผลไม้หรือสัตว์) จำนวน 5 ลิตร/ไร่ผสมกับน้ำ 100 ลิตร พร้อมกับสารเร่ง พด.1 แล้วคนให้เข้ากัน นาน 15 นาที จากนั้นค่อย ๆ เทปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ได้นี้ไปพร้อมกับน้ำ ที่ปล่อยเข้าแปลงนา หรือสาดสารละลายปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้ทั่วแปลงนา โดยให้ระดับน้ำท่วมต่อซัง แล้วปล่อยให้ย่อยสลายประมาณ 10-15 วัน
- ทำเทือกเพื่อปรับพื้นที่ให้เสมอกัน แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ หรือปักดำครั้งใหม่ต่อไป
1.2 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว มีประโยชน์ ช่วยให้เมล็ดข้าวมีธาตุอาหารพืชสะสมในเมล็ดมากขึ้น อีกทั้งน้ำสกัดมูลสุกรมีแคลเซียม ซึ่งช่วยในการงอกของเมล็ด สร้างเซลล์ใหม่ในส่วนของยอดและราก ทำให้ข้าวเจริญเติบโตได้เร็ว นอกจากช่วยเพิ่มการงอกของเมล็ด ทำให้ประหยัดเวลาในการแช่และบ่มข้าวแล้ว ข้าวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าวัชพืช ประกอบกับการหมักฟางจะทำให้รากหญ้าและเมล็ดวัชพืชที่เหลืออยู่ในดินโดนหมักย่อยไปด้วยทำให้มีวัชพืชในแปลงน้อยลง
วิธีการแช่ข้าว นำน้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร ผสมน้ำให้ได้ 20 ลิตร แช่เมล็ดพันธุ์เป็นเวลา 8 – 12 ชั่วโมง (ขึ้นกับความหนาของเปลือกเมล็ด) นำข้าวขึ้นจากน้ำเพื่อทำการบ่มเมล็ด ให้นำน้ำสกัดมูลสุกรที่เหลือจากการแช่ข้าวราดลงบนกระสอบที่บรรจุข้าวอยู่ ประมาณ 4 – 5 ชั่วโมงต่อครั้ง หรือ ไม่ให้ข้าวแห้ง จนกระทั่งเมล็ดข้าวงอกพร้อมที่จะปลูก หรือถ้าไม่สามารถแช่ข้าวจำนวนมากในน้ำสกัดมูลสุกรได้ ให้แช่ตามวิธีการปกติ แต่เมื่อนำกระสอบข้าวขึ้นจากน้ำแล้ว ให้นำน้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร ผสมน้ำให้ได้ 20 ลิตร ราดลงบนกระสอบที่บรรจุข้าว ประมาณ 4 – 5 ชั่วโมงต่อครั้ง เพื่อไม่ให้ข้าวแห้ง จนกระทั่งเมล็ดข้าวงอกพร้อมที่จะปลูก
1.3 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ มีประโยชน์ ช่วยทำให้พืชได้รับธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารได้เร็วขึ้นกว่าการให้ปุ๋ยทางดิน พืชได้รับธาตุอาหารครบซึ่งจัดเป็นการป้องกันความขาดธาตุอาหาร และช่วยเสริมธาตุอาหารที่พืชขาดได้ จะช่วยชะลอความเสื่อมของใบไปได้อีกระยะหนึ่ง ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้ม ตั้งตรงและยังทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง สร้างแป้งต่อไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ส่งผลให้เมล็ดข้าวสมบูรณ์ มีเมล็ดข้าวที่ลีบน้อยลง ขั้วเมล็ดข้าวยังสดและเหนียวอยู่ เมล็ดข้าวจึงไม่ค่อยร่วงหลุดในช่วงเก็บเกี่ยว
วิธีการฉีดพ่นทางใบ ทำได้โดย
- ข้าวมีอายุ 1 เดือน นำน้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 20 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3 – 5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบ ในช่วงเวลา เช้าหรือเย็น การฉีดพ่นให้ได้ผลดีนั้นละอองปุ๋ยน้ำควรมีขนาดเล็กและสัมผัสกับผิวใบทั่วถึงทั้งด้านบดและด้านล่าง
- ข้าวมีอายุ 1 เดือนขึ้นไป นำน้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 10 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3 – 5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบ ในช่วงเวลา เช้าหรือเย็น
- หากพบว่าข้าวในบางบริเวณไม่สม่ำเสมอ ให้ใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำให้ครบ 10 ลิตร พร้อมกับสารจับใบ 3 – 5 ซีซี ฉีดพ่นบริเวณดังกล่าวในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น ก็จะช่วยให้ข้าวเสมอกันได้
1.4 ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดให้พืชทางดิน มีประโยชน์ ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารผ่านทางรากได้ในระหว่างการเจริญเติบโตและเป็นการให้ปุ๋ยที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ผลเร็วกว่าการใช้มูลสุกรแห้งเป็นปุ๋ยทางดินกับพืช
วิธีการให้ปุ๋ย ทำโดยนำน้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้นปล่อยลงสู่แปลงข้าว อัตราส่วน 100 ลิตรต่อ 1 ไร่ โดยให้พร้อมกับน้ำที่ปล่อยหรือสูบเข้าแปลง จำนวน 2 ครั้ง เมื่อข้าวอายุ 30 และ 60 วัน
ตารางที่ 4 การให้น้ำสกัดมูลสุกรในนาข้าว
ช่วงอายุ
การใช้
15 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร
30 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร
- ให้น้ำสกัดมูลสุกรทางดิน อัตรา 100 ลิตร/ไร่
45 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร
60 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร
- ให้น้ำสกัดมูลสุกรทางดิน อัตรา 100 ลิตร/ไร่
75 วัน
- ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 10 ลิตร
- กรณีที่ข้าวออกรวงไม่สม่ำเสมอให้ฉีดน้ำสกัดมูลสุกรทางใบ
น้ำสกัด 1 ลิตร เติมน้ำให้ครบ 20 ลิตร อีกครั้ง บริเวณที่ข้าวเจริญเติบโตช้า
ข้อดีของการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ในการเพิ่มผลผลิตข้าว
    • ย่นระยะเวลาในการแช่และบ่มข้าว
    • เปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์สูง ข้าวที่งอกมีความแข็งแรง
    • ต้นข้าวเจริญเติบโตได้เร็ว ทำให้หญ้าโตได้ช้ากว่า ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดหญ้าได้
    • ต้นข้าวมีความแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค และแมลง
    • จำนวนเมล็ดต่อรวงมากขึ้น เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ เมล็ดเต่ง ได้น้ำหนัก
    • ระยะเก็บเกี่ยว ใบธงของข้าวยังเขียวอยู่และข้าวจะมีขั้วเหนียว ทำให้ข้าวไม่ร่วงหล่นในระหว่างการเก็บเกี่ยว
    • มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรในขั้นตอนการผลิตข้าว และข้าวที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากสามารถลดหรืองดการใช้สารเคมีลงได้
    • ลดต้นทุนการผลิต ในเรื่องของปุ๋ย สารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช
    • ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
    อ้อย
    1. การใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 10 ลิตร ผสมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบในช่วงที่ต้นอ้อยยังไม่สูงมากนัก
    2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรปล่อยไปตามร่อง พร้อมกับการขึ้นน้ำให้อ้อย ประมาณ 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง นอกจากช่วยเร่งให้อ้อยโตเร็วแล้วยังทำให้อ้อยมีความหวานเพิ่มขึ้นด้วย
    พืชผัก
    1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ซึ่งจะทำให้เมล็ดผักงอกเร็วและเจริญตั้งตัวได้เร็วกว่าเมล็ดที่ไม่ได้แช่
    วิธีการ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตราส่วน 1 ลิตร เติมน้ำให้ได้ 20 ลิตร แล้วนำเมล็ดพันธุ์พืชที่ปลูกแช่น้ำเป็นเวลา 6-12 ชม. ก่อนหว่าน หรืออาจผึ่งลมให้เมล็ดพันธุ์แห้งก่อน แล้วนำไปปลูก ซึ่งขึ้นกับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิด
    2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ คือ ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น พืชจะมีสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดใหญ่ หนา และยาวขึ้น กาบใบหรือก้านใบแข็งและมีลักษณะตั้งขึ้น พืชมีน้ำหนักใบและลำต้นมากขึ้นอย่างชัดเจน
    วิธีการ ใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 10-20 ลิตรผสมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบช่วงเวลาเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละครั้ง
    3. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดให้พืชทางดิน ก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์ หรือในช่วงเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรอัตรา 1 ลิตรผสมน้ำ 10 ลิตร รดทางดิน
    ไม้ผล
    1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ จะทำให้พืชมีการสร้างใบและทรงพุ่มใหม่ได้เร็ว ทำให้พืชออกดอก ผลได้เร็วขึ้น ให้ผลผลิตมากขึ้นและมีรสชาติดีด้วย โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตรผสมน้ำ 10-20 ลิตรพร้อมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น เดือนละ 1-2 ครั้ง จนกระทั่งพืชมีการสร้างทรงพุ่มเต็มที่ ให้หยุดฉีด เพื่อให้พืชสร้างดอกและผลต่อไป
    2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดทางดิน โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรเจือจางด้วยน้ำ 10 เท่า รดทางดิน ต้นละ 1-2 ลิตรเดือนละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ หรือจะใช้น้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้น ให้พร้อมกับการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด
    ไม้ดอก
    1. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรฉีดพ่นทางใบ จะทำให้พืชมีการสร้างดอกได้เร็วขึ้น ดอกมีความสมบูรณ์ ขนาดใหญ่ สีเข้มสดใส ก้านดอกแข็ง ยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น อีกทั้งต้นที่เก็บเกี่ยวไปแล้วไม่โทรม ยังสามารถให้ดอกได้เร็วขึ้น โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกร 1 ลิตร ผสมน้ำ 10-20 ลิตรพร้อมสารจับใบ 3-5 ซีซี ฉีดพ่นทางใบในช่วงเวลาเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    2. ใช้น้ำสกัดมูลสุกรรดทางดิน โดยใช้น้ำสกัดมูลสุกรเจือจางด้วยน้ำ 10 เท่า รดทางดิน ต้นละ 1-2 ลิตรสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือจะใช้น้ำสกัดมูลสุกรเข้มข้น ให้พร้อมกับการให้น้ำแบบระบบต่างๆ ในช่วงเร่งการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

เกษตรอินทรีย์คืออะไร ?

เกษตรอินทรีย์ คืออะไร เกษตรอินทรีย์คืออะไรเป็นคำสั่งที่ไม่แน่ใจว่าผู้คนจะลึกซึ้งมากน้อยเพียงใดดังที่กล่าวมาแล้วว่าเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในยุโรปดังนั้น นิยามของเกษตรอินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานรับร องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างจากผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ และผักอนามัยดังนี้ เกษตรอินทรีย์คือระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยา ที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่าง ๆ ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถ ต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย (กรมวิชาการเกษตร) ผักไร้สารจากสารพิษ คือ ผักที่มีระบบการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันเพื่อปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมด และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีสารพิษใดๆทั้งสิ้น ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับที่163 พ.ศ. 2538 ผักอนามัย คือผักที่มีระบบการผลิตที่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโตผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง และการบรรจุหี
บห่อ ได้คุณสมบัติมาตรฐาน