ปลูกผักในภาชนะต่าง ในที่นี้มี ผักบุ้งจีนอายุ 10 วัน ,บวบหอม อายุ 15 วัน , มะเขือ ,ชะพลู ,ใบเตย ,ผักชี เอาเป็นว่าผู้เขียนเลือกชนิดพืชปลูก โดยใช้ความชอบส่วนตัว ฤดูกาล น้ำ บริเวณนั้นมีแสงแดดส่องมากน้อยเพียงไร เพราะต้นไม้ก็เหมือนคน แต่ละชนิดมีความชอบต่างกัน
สวนในภาชนะแก้วต่างๆ วัสดุและอุปกรณ์ ครบชุด สำหรับจัดสวนขวด และให้คำปรึกษาการดูแลต้นไม้ การจัดสวนขนาดเล็กในบ้าน
วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
ผลงานของเรา.....สวนชื้นในขวดใสหลากหลายรูปแบบ เหมาะเป็นของขวัญ ของฝาก
ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 1
ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 2
ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 2 ทั้งขวด
ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 3 ทั้งขวด
ตัวอย่างสวนชื้นในขวดแก้ว 4 ทั้งขวด
วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เพิ่มดีไซน์ให้สวนครัว
เพิ่มดีไซน์ให้สวนครัว
"คอนเซ็ปต์ก็เหมือนสวนสวยงามทั่วไป
แต่ว่าเราใช้พวกพืชผักสวนครัวมาแทนให้ได้ประโยชน์เพิ่ม เอามากินได้ด้วย
หลักการจัดก็เหมือนสวนธรรมดาน่ะ ดูเรื่องมุมมอง มีจังหวะการจัดวางต้นไม้ จริง ๆ
แล้วก็ยากกว่าด้วย เพราะมีต้นไม้ให้เลือกใช้น้อย…"
"…สีสันก็อาจจะไม่ฉูดฉาดเหมือนสวนไม้ประดับที่มีต้นไม้ให้เลือกใช้มาก"
คือข้อจำกัดของสวนครัวในบ้านที่ไม่อาจตอบสนองในด้านภาพที่เห็นให้กับผู้เป็นเจ้าของได้เต็มร้อย
แต่เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง ข้อจำกัดนี้ก็อาจกลายมาเป็นข้อดีขึ้นมา
ในฐานะที่ช่วยลดตัวเลือกในการหาต้นไม้มาจัดสวนของเจ้าของบ้าน
เพื่อจะได้เอาเวลานั้นไปหาของอย่างอื่นมาช่วยแต่งสวนเพิ่ม
ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ในสวน หรือองค์ประกอบอื่น ๆ
ที่จะช่วยให้สวนมีชีวิตชีวาขึ้น
"พืชสวนครัวที่เราเลือกมาใช้
เราก็อาจแทนค่าเป็นไม้ประดับได้ อย่างเฮลิโคเนียก็ใช้พวกขิงข่าแทน
กล้วยบัวก็เป็นกล้วยน้ำว้า เฟิร์นก็เป็นผักชีฝรั่ง จริง ๆ
แล้วการจัดสวนครัวในรูปแบบสวนประดับนี่มันมีข้อดีด้วยนะ
อย่างพวกแมลงที่มาทำลายจะน้อยกว่าสวนผัก ที่เป็นแปลง ๆ
เพราะเราปลูกผสมผสานหลายอย่าง แมลงที่มาก็จะหลง
แมลงชนิดหนึ่งจะมีพืชที่กินได้กลุ่มหนึ่ง พอกินต้นนี้อยู่ แล้วเลยไปเจออีกชนิดหนึ่ง
ก็จะหลงแล้ว นึกว่าหมดแล้ว ก็จะบินไปหาแหล่งใหม่ ไม่ควรใช้สารเคมีเลยนะครับ
สวนครัวในบ้านแบบนี้ ถ้าเห็นแมลงมาเกาะก็ให้เด็ดทิ้งไป"
การจัดสวนครัวอย่างนี้ แม้จะปลูกผสมด้วยพืชผักหลายชนิด
แต่ก็จะไม่ปลูกรวมกัน จะปลูกเป็นกลุ่ม พืชสวนครัวแต่ละชนิดมีอายุไม่เท่ากัน
เวลาเราเปลี่ยน เราก็จะเปลี่ยนได้ง่าย ถ้าจะให้สวยนาน
ก็ต้องเลือกต้นที่ไม่ใช่ว่าเด็ดไปแล้วใบจะหายไปเลย
ต้องเลือกที่ยังมีใบทีพอให้ภาพสวนไม่เปลี่ยน เช่น กะเพรา โหระพา ตะไคร้
ส่วนพวกที่ตัดแล้วใบหาย เช่น คะน้า ผักบุ้ง ก็อาจปลูกแซม ๆ ไว้
หรือถ้ามีที่ว่างก็ให้ทำเป็นแปลงไปเลย
เป็นอีกสองข้อจำกัด
แต่ก็เป็นเหมือนหลักการที่ช่วยกำหนดรูปแบบการจัดไปด้วย
จะได้ไม่ต้องพบกับปัญหาภายหลัง
ซึ่งเรื่องปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องแสงแดด ที่ต้องไม่ร่มเกิน
และก็ไม่ควรจะมากไป สวนครัวต้องการแดดค่อนข้างมาก แต่ผมว่าแสงสักครึ่งวันนี่กำลังดี
จะเช้าหรือบ่ายก็ได้ ดีกว่าเต็มวันด้วยซ้ำไป ถ้าแดดเต็มวัน
ตัวเนื้อผักจะแข็งแห้งเกินไป ไม่ค่อยอวบน้ำ ถ้าครึ่งวันนี่จะอวบกว่า จะกรอบกว่า
น้ำมาก แต่ไม่แฉะ ไม่ขัง คือปริมาณที่พืชผักสวนครัวชอบ รดน้ำ 1
ครั้งถ้าแดดไม่จัด หรือ 2 ครั้งถ้าวันนั้นแดดจัด
ส่วนเรื่องการดูแลตัดแต่งนั้นง่ายและทำเหมือนไม่ได้ทำ
การเด็ดไปใช้
การเด็ดไปกิน ก็เหมือนเป็นการตัดแต่ง เราใช้บ่อย ๆ ก็เป็นการดูแลไปในตัว
แต่ก็ต้องเลือกใช้ให้กระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นที่
ส่วนปุ๋ยก็ให้ใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก สลับกับปุ๋ยเคมีบ้าง
ตัวโครงสร้างดินไม่เสียหายอะไร
ที่มา:บ้านและสวน
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
การทำปุ๋ยหมักใช้เองง่ายๆ
การผลิตปุ๋ยคอก โดยใช้สารเร่ง พด.1
ส่วนผสมในการผลิต
-มูลไก่ 300 กิโลกรัม
-มูลไก่ 300 กิโลกรัม
-รำละเอียด (รำข้าว) 30 กิโลกรัม
-สารเร่ง พด.1 1 ซอง (100กรัม)
-ฟางข้าว (ใช้สำหรับคลุมกองปุ๋ยหมัก)1.ผสมมูลไก่ รำละเอียดและสารเร่ง พด.1ให้เข้ากัน รดน้ำปรับความชื้นประมาณ 60%
2.ตั้งกองปุ๋ยคอกให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร
3.นำฟางข้าวมาคลุมกองปุ๋ยคอกไว้เพื่อรักษาความชื้นและธาตุอาหารในกองปุ๋ยหมัก
4.ในระหว่างการหมักไม่ต้องกลับกองปุ๋ยคอก
5.ปล่อยให้เกิดการย่อยสลายเป็นเวลา 7 วันจึงนำไปใช้ในการปลูกพืชได้
การใช้ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก1.การเตรียมแปลงเพาะกล้า ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา1 ตัน/ไร่
2.ช่วงการเจริญเติบโตของพืช ใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 1 ตัน/ไร่
ข้อมูลข้างต้นต้องขอบคุณกรมพัฒนาที่ดินนะคะ ผู้เขียนลองทำดูแล้วง่ายมากๆ เหมาะกับการทำใช้เองเล็กๆน้อย ถ้าสนใจลองทำก็ลองลดอัตรส่วนต่างๆลงนะคะ คราวหน้าจะนำวิธีการทำฮอร์โมนพืชมาฝากนะคะ
การปลูกผักกินเอง : สารพิษตกค้าง
สารพิษตกค้างในผักผลไม้
ปัจจุบัน กระแสนิยมเรื่องสุขภาพได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมาก ผักผลไม้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้รักสุขภาพ เนื่องจากมีธาตุอาหารมากมายที่ร่างกายต้องการ รวมถึงเส้นใยของผักผลไม้ยังช่วยระบบขับถ่าย
นอกจากสารอาหารแล้วผักและผลไม้บางอย่างยังมีสรรพคุณทางยา เช่น บร็อคโคลี่ ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง กะหล่ำปลีช่วยรักษาโรคกะเพาะ ลำไส้อักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ถึงแม้ว่าผู้บริโภคจะตระหนักดีว่าผักผลไม้ที่รับประทานนั้นจะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ยังวิตกกังวลอยู่ในเรื่องของสารพิษตกค้างจากการเพาะปลูก ว่าแท้จริงแล้วผักผลไม้เหล่านี้จะเกิดประโยชน์หรือมีโทษมากกว่ากัน... เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญ
หากเราซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคคงหนีไม่พ้นสารพิษตกค้างอยู่ ถ้าเราบริโภคแม้จะในปริมาณน้อยก็ตาม แต่หากบริโภคเป็นประจำอาจจจะเกิดการสะสม ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวบกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากมะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง
การใช้สารป้องกันกำจัดแมลงไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เพียงแต่เกษตรกรควรใช้ในปริมาณ ระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผลผลิตที่ได้นั้นปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และที่สำคัญในทุกขั้นตอนการเพาะปลูกเกษตรกรควรคำนึงถึงสุขภาพของตนเองและผู้บริโภคเป็นหลัก(ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร)
เพื่อนๆรู้แบบนี้แล้วจะตัดสินใจเลือกซื้อผักและผลไม้อย่างไร หรือจะปลูกผักกินเอง ไม่ว่าจะทำแบบอินทรีย์ ทำแบบผักปลอดสารพิษ ผักปลอดภัย หลากหลายวิธีที่เราสามารถเลือกได้ เพื่อสุขภาพของเรา มีเงินมากสักเท่าไรคงไม่ดีเท่ามีสุขภาพแข็งแรงนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่่างไร?
จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้อย่างไร ?
การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ และศรัทธาหลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับประเภทของเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยต่อปัญหา
ผลผลิตพืชอินทรีย์เป็นอย่างไร? - มีรูปร่างดีสมส่วน
- มีสีสวยเป็นปกติ
- มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
- มีโครงสร้างของเนื้อนุ่มกรอบแน่น
- มีรสชาติดี
- ไม่มีสารพิษตกค้าง
- เก็บรักษาได้ทนทาน
- ให้สารอาหารและพลังชีวิต
มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย มีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้
- ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด
- พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
- ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์
- ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม
- ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน
- ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
- กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์
- ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม
- ต้องได้รับการรับรองมารฐานอย่างเป็นทางการ
หลักการผลิตพืชอินทรีย์ 1. เลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
2. เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง
3. อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. อยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี
5. ห่างจากถนนหลวงหลัก
6. มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ
ขอบคุณข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรนะคะ
การเกษตรปัจจุบัน สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ได้โดยเริ่มต้นศึกษาหาความรู้จากมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ถูกกำหนดขึ้นควรเริ่มต้นด้วยความสนใจ และศรัทธาหลักทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติ โดยศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติเมื่อเริ่มปฏิบัติตามนี้แล้วก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่การทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยนเมื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องตามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไม่นานก็จะเป็นเกษตรอินทรีย์ได้ ทั้งนี้ช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับประเภทของเกษตรอินทรีย์ที่จะผลิตซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วข้อสำคัญนั้น อยู่ที่การทำความเข้าใจเกษตรอินทรีย์ให้ถ่องแท้มีความตั้งใจจริง มีความขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อถอยต่อปัญหา
ผลผลิตพืชอินทรีย์เป็นอย่างไร? - มีรูปร่างดีสมส่วน
- มีสีสวยเป็นปกติ
- มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ
- มีโครงสร้างของเนื้อนุ่มกรอบแน่น
- มีรสชาติดี
- ไม่มีสารพิษตกค้าง
- เก็บรักษาได้ทนทาน
- ให้สารอาหารและพลังชีวิต
มาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย มีประเด็นหลักสำคัญ ดังนี้
- ที่ดินไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด
- พื้นที่ปลูกต้องไม่มีสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
- ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ในกระบวนการผลิต
- ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ที่คลุกสารเคมีสังเคราะห์
- ไม่ใช้สิ่งที่ได้จากการตัดต่อทางพันธุกรรม
- ไม่ใช้มูลสัตว์ที่เลี้ยงอย่างผิดมาตรฐาน
- ปัจจัยการผลิตจากภายนอกต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน
- กระบวนการผลิตต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์
- ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม
- ต้องได้รับการรับรองมารฐานอย่างเป็นทางการ
หลักการผลิตพืชอินทรีย์ 1. เลือกพื้นที่ที่ไม่เคยทำการเกษตรเคมีมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
2. เป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างดอนและโล่งแจ้ง
3. อยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. อยู่ห่างจากแปลงที่ใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี
5. ห่างจากถนนหลวงหลัก
6. มีแหล่งน้ำที่ปลอดสารพิษ
ขอบคุณข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรนะคะ
วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
การทำสวนเกษตร : ภาพตัวอย่าง
ภาพการปลูกผักในพื้นที่จำกัด
การปลูกผักรับประทานเองแบบปลอดสารเคมี หรือจะเป็นเกษตรอินทรีย์หรือในชื่อเรียกอื่นๆ ที่ทำให้เราๆ ท่านๆ สามารถมีพืชผักที่ปลอดภัยไว้รับประทาน แม้จะไม่ได้ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากไม่มีใครที่จะควบคุมสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษรอบๆตัวเราได้ แต่ก็เชืื่อได้ว่าผักที่เราปลูกไว้รับประทานเอง จะช่วยให้เราแข็งแรงและมีสุขภาพดีอีกนาน มากกว่าผักในท้องตลาดทั่วไป
ภาพตัวอย่างการปลูกผักในพื้นที่จำกัด ในเดือนพฤศจิกายน 2556
การจัดสวนในภาชนะ : ตัวอย่าง
การปลูกต้นไม้ จัดสวนแห้งในภาชนะแก้ว
โดยใช้ศิลปะทรายสี
การปลูกต้นไม้ตระกูลแคลตัส เพื่อใช้ประโยชน์ใดยการตั้งในออฟฟิช โต๊ะทำงานเพื่อเพิ่มบรรยกาศและลดรังสีจากเครื่องคอมพิมเตอร์ของคุณได้ เป็นวิธีง่ายๆที่ช่วยให้คนทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือในห้องนานๆผ่อนคลาย
ตัวอย่างผลงานการปลูกต้นไม้ในแก้วร่วมกับศิลปะการโรยทรายสี
"เพิ่มความสดชื่น ส่งความสุขให้คนข้างๆ ได้ง่ายๆ ด้วยต้นไม้แสนสวย จากเรา"
รับจัดสวนในแก้ว ในภาชนะอื่นๆ ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ หรือสนใจซื้ออุปกรณ์ครบชุด
ติดต่อ ร้านนครเกษตร คุณปิยมน โทร 0877666014 หรือ piyamon_1234@hotmail.co.th
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
การจัดสวนในขวดแก้ว : 1
ขอบคุณภาพจาก Foufur
สร้างสวนสวยด้วยตัวคุณเอง
การจัดสวนในภาชนะใด ๆ แบ่งเป็น 2 ระบบด้วยกันคือ ระบบปิด และระบบเปิด ซึ่งทั้งสองระบบนี้มีเป้าหมายที่เหมือนกันคือ จัดสวนในภาชนะเพื่อความเลิดเพลิน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เสริมสร้างสมาธิและจินตนาการให้กับผู้จัด ใช้ตกแต่งสถานที่ทำงาน ที่บ้าน อีกทั้งต้นไม้บางชนิดยังช่วยดูดซับรังสีที่ไม่พึงปรสงค์จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ดี
สวนระบบปิด จุดประสงค์เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืชเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งใช้ความชื้นที่ระเหยไปกลับมาใช้ใหม่ได้เหมือนน้ำฝนในธรรมชาติ และไม่ต้องการน้ำเพิ่มเป็นเดือนหรือเป็นปี
สวนระบบเปิด โดยใช้โหลแก้วหรือขวดที่ไม่มีฝาปิด สวนระบบเปิดแบบนี้จะต้องการการรดน้ำมากกว่าระบบปิดเพราะความชื้นที่ไหลเวียนออกไปได้ง่ายกว่าค่ะ
ปัจจุบันสวนจิ๋วในภาชนะแบบนี้เป็นที่นิยม เราสามารถจัดเองกันได้ง่ายๆ แต่ก่อนอื่นต้องสำรวจตัวเองว่ามีวัสดุและอุปกรณ์ให้พร้อมหรือยัง
วัสดุและอุปกรณ์
- ขวดโหล ขวดแก้ว ภาชนะพลาสติก แก้ว ใสอื่นๆ
- ดิน หิน สแฟ็กนั่มส์มอส ถ่านขนาดเล็ก อิฐก้อนเล็ก ต้นไม้
- ของตกแต่งสวนขนาดจิ๋ว
- กรรไกร คัตเตอร์ ปากคีบ
ขั้นตอนการจัดสวน
- นำภาชนะที่ต้องการมาทำความสะอาดให้เรียบร้อย ใส่หินกรวดหรืออิฐมอญลงไปประมาณ 1/2 นิ้ว ใส่ถ่าน แล้วตามด้วยสแฟ็กนั่มส์มอส ประมาณ 1/2 นิ้ว เพื่อป้องกันดินไหลลงไปด้านร่าง และช่วยเก็บความชื้นได้ดี ตามด้วยการใส่ดิน ประมาณ 1 นิ้ว แล้วขุดหลุมปลูกต้นไม้ สุดท้ายตกแต่งสวนสวยให้เรียบร้อย รดน้ำเล็กน้อย ปิดฝาภาชนะ นำไปตั้งไว้ในที่ใีแสงรำไร ไม่ร้อนเกินไป
หมายเหตุ: สวนสวยจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปีขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา
สวนในขวดแก้ว
ภาพตัวอย่างการจัดสวนในขวดแก้ว ขอบคุณภาพจาก www.forfur.com |
ไม้กระถาง : เครื่องปลูก
ไม้กระถาง
หมายถึง การนำเอาพรรณไม้มาปลูกลงในกระถาง หรือภาชนะใดก็ได้ที่ต้องการ เพื่อใช้เป็นไม้ประดับ สำหรับตกแต่งอาคารสถานที่ หรือปลูกพืชเพื่อไว้รับประทาน สามารถเคลื่อนย้ายได้ ดูแลรักษาสะดวก ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด
โดยเฉพาะปัจจุบันนิยมปลูกพืชผักในภาชนะกันมาก เนื่องจากจะได้ผักปลอดสารพิษไว้รับประทานแล้ว ยังสามารถใช้ตกแต่งบ้านเรือน อาคารสถานที่ได้อีก
การเลือกกระถางหรือภาชนะที่ใช้ในการปลูก อาจมีรูปทรงใดก้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปทรงตายตัวหรือเป็นวัสดุใหม่ๆ อาจเป็นวัสดุที่ใช้แล้วหรือเป็นวัสดุธรรมชาติทั่วไป เช่น ขอนไม้ ยางรถยนต์ กระป๋อง หรือถ้วยกาแฟ
กระถางแต่ละชนิิดให้อารมณ์แตกต่างกันและเหมาะกับพืชพรรณต่างกันออกไป พืชที่ต้องการน้ำมากหรือแช่นำ้ก็ควรเลือกใส่กระถางที่กักน้ำได้ดี มีรูระบายน้ำน้อยหรืออาจไม่ต้องมีเลย
เครื่องปลูกสำหรับไม้กระถางมีอะไรบ้าง
ดิน ควรเป็นดินร่วนโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
ทราย ควรใช้ทรายหยาบ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศ
ถ่่านป่น ช่วยให้วัสดุปลูกมีความโปร่ง ร่วนซุย สามารถระบายน้ำ ถ่ายเทอากาศได้ดี สามารถดูดซับเกลือ
อิฐหัก เช่นเดียวกับถ่านป่น ช่วยในการถ่ายเทอากาศ ดูดซับความชื้น และสามารถระบายน้ำได้ดี
เปลือกมะพร้าวสับหรือขุยมะพร้าว ใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูก เพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืช ช่วยให้วัสดุปลูกมีความโปร่ง และร่วนซุย
ขี้เลื่อย เป็นส่วนผสมของวัสดุปลูกช่วยให้ดินร่วนซุย สามารถดูดซับน้ำและความชื้นได้ดี แต่เปลือกมะพร้าวสับและขุยมะพร้าวมีความโปร่งมากกว่า
แกลบเผา เป็นส่วนผสมที่มีแร่ธาตุโปแตสเซียมและแคลเซียมใชเผสมกับวัสดุปลูกหรือคลุมดิน ช่วยลดความร้อนและความเป็นกรดที่เกิดขึ้นจากขบวนการย่อยสลาย ช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นให้แก้หน้าดิน
เปลือกถั่ว หรือใบก้ามปู เป็นแหล่งแร่ธาตุอาหารไนโตรเจน ช่วยก็บความชื้นได้ดี
เพอร์ไลท์ เป็นขี้เถ้าภูเขาไฟ มีคุณสมบัติ น้ำหนักเบามาก ช่วยเพิ่มความโปร่งให้กับวัสดุ
พีทมอส เป็นวัสดุปลูกที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ เพิ่มความโปร่งร่วนซุย
วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557
การปลูกผัก ต้นไม้ ในพื้นที่จำกัด
การปลูกผักกินเองเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าจริงหรือ?
จะดีแค่ไหนถ้าเรามีโอกาสได้กินผักปลอดสารพิษจากสวนหลังบ้านของเราเอง ใครๆก็ฝันเช่นนี้ โดยเฉพาะคนรักสุขภาพ ที่ทุกวันนี้ต้องเสียเงินมิใช่น้อยในการซื้อผักปลอดสารพิษในราคาแพง ที่มีขายในท้องตลาด แม้จะติดป้ายปลอดสารพิษ แต่แน่ใจแค่ไหนว่าจะปลอดสารพิษจริงๆ เพราะมีข้อมูลจากหลายแหล่งที่ระบุว่าผู้ขายนำผักที่ปลูกด้วยสารเคมีนั่นแหล่ะมาวางขายแล้วระบุว่าเป็นผักออร์แกนิกส์ เพื่อเพิ่มราคาในการขาย โดยเฉพาะผู้เขียนเองซึ่งเคยทำงานในบริษัทผลิตผักไฮโดรโพรนิกส์ แล้วจำหน่ายเป็นผักปลอดสารพิษตามห้างชื่อดังในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยติดป้ายผักปลอดสารพิษ แต่แท้จริงแล้วมีการฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงไม่ยิ่งหย่อนไปว่าเกษตกรไทยทั่วไป หรือบางรายฉีดพ่นยิ่งกว่าโดยเฉพาะผักสลัด หรือผักที่เป็นพันธุ์จากต่างประเทศไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมแบบบ้านเรา แต่เมื่อผู้บริโภคต้องการและมีราคาแพงผู้ผลิตจำเป็นต้องผลิตเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้า ทั้งนี้ก็เพื่อผลกำไรนั่นเอง
ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับการรับประทานผักปลอดสารพิษกันมากขึ้น การปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินแพงๆจ้างมืออาชีพมาออกแบบให้ เราสามารถทำเองได้ที่บ้าน อีกทั้งยังสามารถประยุกต์สวนผักให้สวยงามเป็นสวนหย่อมหลังบ้านแบบสบายๆ ได้อีก
"พูดง่ายแต่ทำยาก" หลายท่านคงคิดเช่นนั้น ถ้าจะปลูกจริงๆไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความรัก ความตั้งใจมากพอสมควร เพราะวิถีชีวิตคนปัจจุบันมิได้เปิดโอกาสให้เราทำเช่นนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ยังคงสนับสนุนการปลูกผักไว้กินเองดีกว่าการซื้อหา โดยเฉพาะปัจจุบัน วัสดุและอุปกรณ์สามารถหาซื้อได้ง่าย ไม่ต้องลงมือไปทำเองทุกขั้นตอน อย่างน้อยไม่ได้ผักกิน แต่ยังได้ออกกำลังกาย เราไม่จำเป็นต้องปลูกทุกอย่าง แต่ปลูกสิ่งที่ต้องกินเป็นประจำก็เพียงพอ เช่น พริก กะเพรา
ตัวอย่างการปลูกผักในพื้นที่จำกัด
"สุขภาพดีเริ่มต้นด้วยการบริโภคผักปลอดสารเคมี "
จะดีแค่ไหนถ้าเรามีโอกาสได้กินผักปลอดสารพิษจากสวนหลังบ้านของเราเอง ใครๆก็ฝันเช่นนี้ โดยเฉพาะคนรักสุขภาพ ที่ทุกวันนี้ต้องเสียเงินมิใช่น้อยในการซื้อผักปลอดสารพิษในราคาแพง ที่มีขายในท้องตลาด แม้จะติดป้ายปลอดสารพิษ แต่แน่ใจแค่ไหนว่าจะปลอดสารพิษจริงๆ เพราะมีข้อมูลจากหลายแหล่งที่ระบุว่าผู้ขายนำผักที่ปลูกด้วยสารเคมีนั่นแหล่ะมาวางขายแล้วระบุว่าเป็นผักออร์แกนิกส์ เพื่อเพิ่มราคาในการขาย โดยเฉพาะผู้เขียนเองซึ่งเคยทำงานในบริษัทผลิตผักไฮโดรโพรนิกส์ แล้วจำหน่ายเป็นผักปลอดสารพิษตามห้างชื่อดังในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยติดป้ายผักปลอดสารพิษ แต่แท้จริงแล้วมีการฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลงไม่ยิ่งหย่อนไปว่าเกษตกรไทยทั่วไป หรือบางรายฉีดพ่นยิ่งกว่าโดยเฉพาะผักสลัด หรือผักที่เป็นพันธุ์จากต่างประเทศไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมแบบบ้านเรา แต่เมื่อผู้บริโภคต้องการและมีราคาแพงผู้ผลิตจำเป็นต้องผลิตเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้า ทั้งนี้ก็เพื่อผลกำไรนั่นเอง
ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับการรับประทานผักปลอดสารพิษกันมากขึ้น การปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินแพงๆจ้างมืออาชีพมาออกแบบให้ เราสามารถทำเองได้ที่บ้าน อีกทั้งยังสามารถประยุกต์สวนผักให้สวยงามเป็นสวนหย่อมหลังบ้านแบบสบายๆ ได้อีก
"พูดง่ายแต่ทำยาก" หลายท่านคงคิดเช่นนั้น ถ้าจะปลูกจริงๆไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความรัก ความตั้งใจมากพอสมควร เพราะวิถีชีวิตคนปัจจุบันมิได้เปิดโอกาสให้เราทำเช่นนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนก็ยังคงสนับสนุนการปลูกผักไว้กินเองดีกว่าการซื้อหา โดยเฉพาะปัจจุบัน วัสดุและอุปกรณ์สามารถหาซื้อได้ง่าย ไม่ต้องลงมือไปทำเองทุกขั้นตอน อย่างน้อยไม่ได้ผักกิน แต่ยังได้ออกกำลังกาย เราไม่จำเป็นต้องปลูกทุกอย่าง แต่ปลูกสิ่งที่ต้องกินเป็นประจำก็เพียงพอ เช่น พริก กะเพรา
ตัวอย่างการปลูกผักในพื้นที่จำกัด
"สุขภาพดีเริ่มต้นด้วยการบริโภคผักปลอดสารเคมี "
สนใจปลูกผักปลอดสารเคมีติดต่อขอคำปรึกษาได้ฟรี หรือต้องการวัสดุอุปกรณ์ปลูกผักปลอดสารเคมี
ติดต่อคุณปิยมน piyamon_1234@hotmail.co.th ร้านนครเกษตร อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ 60170 การปลูกผักคอนโด
การปลูกผักคอนโด
เป็นการปลูกผักบนที่จำกัด ซึ่งเหมาะสำหรับสังคมในยุคปัจจุบัน ที่ต้องการปลูกผักไว้รับประทานเอง แต่มีพื้นที่จำกัด การปลูกผักคอนโด มีหลายวิธี แต่ก่อนอื่นผู้ที่ต้องการทำต้องมีคอนโดสำหรับใช้ในการปลูกผักก่อน สำหรับคอนโดที่ใช้ในการปลูกผักนั้นมีหลายแบบ หลากหลายไอเดียร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมของผู้ที่ต้องการปลูกแต่ละท่าน ว่าต้องการแบบใด ดังตัวอย่างในภาพด้านล่าง
ตัวอย่างการทำคอนโดผักแบบต่างๆ
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกผักคอนโด
1.คอนโดผัก อาจทำเองหรือสั่งทำตามแบบที่เราต้องการ
2.เมล็ดผักที่เราต้องการปลูกเช่น ผักชี หอมแบ่ง คะน้า ผักที่เลือกปลูกต้องมีระบบรากตื้น สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่จำกัด
3.วัสดุปลูก ผู้ปลูกสามารถหาซื้อตามท้องตลาดได้ทั่วไป แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
4.ปุ๋ยน้ำชีวภาพ,ปุ๋ยคอก ,สารชีวภาพสำหรับควบคุมศัตรูพืช
5.และวัสดุอื่นๆ เช่น ช้อนปลูก ซ่อมพรวนดิน พลั่วตักดิน สายยาง บัวรดน้ำ
ในการปลูกผักคอนโดผู้ปลูกสามารถใช้เมล็ดปลูกได้โดยตรงหรือการใช้ต้นกล้าปลูก ทั้งนี้สามารถหาซื้อเมล็ดได้ตามท้องตลาดตามต้องการ
วิธีปลูก(กรณีปลูกผักคอนโดในลางไม้หรือท่อพีวีซีแบบอินทรีย์)
1.ใช้ใยมะพร้าวลองก้นลาง แล้วใส่ดินผสมลงไปเกือบเต็มขอบ
2.หยอดเมล็ด ผักที่ต้องการ ให้ระยะห่างเหมาะสมตามชนิดของผัก รดน้ำตามให้ชุ่ม 3-4 วันผักเริ่มงอก
3.การดูแลรักษาเหมือนการปลูกผักทั่วไป
4.เมื่อเก็บเกี่ยวผักเรียบร้อยแล้ว ทำความสะอาดดินที่ปลูก กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยหมัก แล้วคลุกเคล้าดินให้เข้ากัน ดินที่ปลูกสามารถใช้ปลูกพืชได้ 1- 2 ครั้ง จากนั้นต้องเปลี่ยนดินปลูกโดยการนำดินเก่า ออก
แล้วใส่ดินใหม่ลงไป ในการปลูกผักรอบต่อไป ด้านล่างเป็นตัวอย่างการทำคอนโดผักและการทำปุ๋ยหมัก
http://www.youtube.com/watch?v=aS2zrynOjrw การทำปุ๋ยหมัก
http://www.youtube.com/watch?v=7jfFNXO89ZU การปลูกผักคอนโด
สนใจขอคำแนะนำการปลูกผักคอนโด ติดต่อคุณปิยมน piyamon_1234@hotmail.co.th
วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2557
ผักไมโครกรีน
ไมโครกรีนพื้นบ้าน สุวรรณภูมิปลูกผักไทย
รายงานพิเศษ
ในขณะที่กระแสความตื่นตัวเรื่องสุขภาพกำลังได้รับความนิยมสูง
ทำให้การบริโภคผักอนามัย หรือผักปลอดสารพิษ ผักปลอดยาฆ่าแมลง
พลอยได้รับความนิยมมากขึ้นตามกระแสความตื่นตัวดังกล่าว
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ จึงได้จับกระแสรักสุขภาพ โดยได้ศึกษาและวิจัยถึงชนิดของพืชพื้นบ้านที่เหมาะสมในการผลิตผักไมโครกรีน
รศ.อุดมลักษณ์ มัจฉาชีพ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผักไมโครกรีนจัดว่าเป็นรูปแบบใหม่ ในการบริโภคผักของคนไทย ส่วนใหญ่เป็นไมโครกรีนจากผักต่างประเทศ คณะผู้วิจัยจึงมองว่า ผักพื้นบ้านของไทยนั้นก็สามารถนำมาปลูกในลักษณะของผักไมโครกรีนได้
เนื่องจากไมโครกรีนเป็นการผลิตผักในรูปต้นกล้าขนาดเล็กเพาะจากเมล็ดผักสมุนไพร และเมล็ดพืชอื่นๆ มีขนาดสูงของลำต้นประ มาณ 1-2 นิ้ว ประกอบด้วยลำต้นและใบจริง ต้นกล้าเหล่านี้หลายชนิดเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน และสารแอนตี้ออกซิแดนต์สารอาหารที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ เกิดขึ้นภายในกระบวนการงอกของต้นกล้า โดยเปลี่ยนสารอาหารที่สะสมในเมล็ด ไปเป็นรูปที่ใช้ประโยชน์ได้
จุดเด่นของผักไมโครกรีนคือ ผลิตได้ตลอดปี การผลิตแต่ละรุ่น ใช้ระยะเวลาสั้น ปลอด ภัยจากสารเคมี เป็นทางเลือกในการบริโภคผักของผู้ใส่ใจสุขภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าพืชพื้นบ้านอีกด้วย
รศ.อุดมลักษณ์กล่าวต่ออีกว่า การศึกษาในครั้งนี้ เพื่อหาพืชพื้นบ้านที่มีความเหมาะสมในการผลิตไมโครกรีน โดยเลือกชนิดของพืชพื้นบ้านที่มีจำนวนเมล็ดมาก มีเปอร์เซ็นการติดเมล็ดสูง ให้ต้นกล้ามีลักษณะน่ารับประทาน และรสชาติดี
นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของผักไมโครกรีนที่คัดเลือก โดยวิเคราะห์ ความชื้น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใย วิตามินซี เถ้า และวิเคราะห์หาปริมาณคลอโรฟิลล์ด้วยสารไดเมททิล ฟอร์มาไมด์
ผลจากการทด ลองสามารถคัดเลือกได้ 3 ชนิด ได้แก่ ผักขี้หูด ผักเขียวน้อย และโสน ซึ่งมีลักษณะอวบ ลำต้นสีขาวใบสีเขียวสด น่ารับประทาน
นอกจากนี้ จากการทดสอบการชิมและการยอมรับโดยรวม พบว่าอยู่ในเกณฑ์ ชอบ-ชอบมาก
ซึ่งโดยรวมแล้วผักขี้หูด มีกลิ่นฉุนและเฝื่อน เหมาะกินกับสลัดน้ำข้น หรือเหมาะรับประทานกับสเต๊กปลาจะทำให้รสชาติดีขึ้น และยังเหมาะกับอาหารไทยจำพวกลาบได้อีกด้วย
ผักเขียวน้อยมีจุดเด่นคือ รสชาติคล้ายวาซาบิ เหมาะรับประทานกับน้ำสลัดแบบใส และเหมาะรับประทานกับอาหารญี่ปุ่น เช่น ซูชิ
ส่วนโสนมีความสด กรอบ คล้ายถั่วงอก กินได้กับอาหารทุกประเภท
ผักทั้ง 3 ชนิด ยังมีสรรพคุณทางยาหลายประการ
ผักขี้หูด ใบและต้นช่วยเจริญอาหาร ขับลม เมล็ดใช้เป็นยา ช่วยย่อย แก้ร้อน ลดอาการกระหายน้ำ เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
ผักเขียวน้อย มีสรรพคุณในการยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการสร้าง lipid peroxide ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ต้านการอักเสบ กระตุ้นการเจริญของเส้นผม มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร มีเส้นใยสูง
ส่วนของโสน ดอกเป็นยาฝาดสมาน ใบตำผสมกับคนประส่ง และดินสอพอง พอกฝีแก้ปวด ถอนพิษ ลำต้นเผาแช่น้ำดื่มเพื่อขับปัสสาวะ
ได้เวลาหันมากินผักไทยกันแล้ว
สนใจ ผักไมโครกรีน ติดต่อ piyamon_1234@hotmail.co.th
รายงานพิเศษ
สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ จึงได้จับกระแสรักสุขภาพ โดยได้ศึกษาและวิจัยถึงชนิดของพืชพื้นบ้านที่เหมาะสมในการผลิตผักไมโครกรีน
รศ.อุดมลักษณ์ มัจฉาชีพ หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ผักไมโครกรีนจัดว่าเป็นรูปแบบใหม่ ในการบริโภคผักของคนไทย ส่วนใหญ่เป็นไมโครกรีนจากผักต่างประเทศ คณะผู้วิจัยจึงมองว่า ผักพื้นบ้านของไทยนั้นก็สามารถนำมาปลูกในลักษณะของผักไมโครกรีนได้
เนื่องจากไมโครกรีนเป็นการผลิตผักในรูปต้นกล้าขนาดเล็กเพาะจากเมล็ดผักสมุนไพร และเมล็ดพืชอื่นๆ มีขนาดสูงของลำต้นประ มาณ 1-2 นิ้ว ประกอบด้วยลำต้นและใบจริง ต้นกล้าเหล่านี้หลายชนิดเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน และสารแอนตี้ออกซิแดนต์สารอาหารที่เป็นประโยชน์เหล่านี้ เกิดขึ้นภายในกระบวนการงอกของต้นกล้า โดยเปลี่ยนสารอาหารที่สะสมในเมล็ด ไปเป็นรูปที่ใช้ประโยชน์ได้
จุดเด่นของผักไมโครกรีนคือ ผลิตได้ตลอดปี การผลิตแต่ละรุ่น ใช้ระยะเวลาสั้น ปลอด ภัยจากสารเคมี เป็นทางเลือกในการบริโภคผักของผู้ใส่ใจสุขภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าพืชพื้นบ้านอีกด้วย
รศ.อุดมลักษณ์กล่าวต่ออีกว่า การศึกษาในครั้งนี้ เพื่อหาพืชพื้นบ้านที่มีความเหมาะสมในการผลิตไมโครกรีน โดยเลือกชนิดของพืชพื้นบ้านที่มีจำนวนเมล็ดมาก มีเปอร์เซ็นการติดเมล็ดสูง ให้ต้นกล้ามีลักษณะน่ารับประทาน และรสชาติดี
นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของผักไมโครกรีนที่คัดเลือก โดยวิเคราะห์ ความชื้น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใย วิตามินซี เถ้า และวิเคราะห์หาปริมาณคลอโรฟิลล์ด้วยสารไดเมททิล ฟอร์มาไมด์
ผลจากการทด ลองสามารถคัดเลือกได้ 3 ชนิด ได้แก่ ผักขี้หูด ผักเขียวน้อย และโสน ซึ่งมีลักษณะอวบ ลำต้นสีขาวใบสีเขียวสด น่ารับประทาน
นอกจากนี้ จากการทดสอบการชิมและการยอมรับโดยรวม พบว่าอยู่ในเกณฑ์ ชอบ-ชอบมาก
ซึ่งโดยรวมแล้วผักขี้หูด มีกลิ่นฉุนและเฝื่อน เหมาะกินกับสลัดน้ำข้น หรือเหมาะรับประทานกับสเต๊กปลาจะทำให้รสชาติดีขึ้น และยังเหมาะกับอาหารไทยจำพวกลาบได้อีกด้วย
ผักเขียวน้อยมีจุดเด่นคือ รสชาติคล้ายวาซาบิ เหมาะรับประทานกับน้ำสลัดแบบใส และเหมาะรับประทานกับอาหารญี่ปุ่น เช่น ซูชิ
ส่วนโสนมีความสด กรอบ คล้ายถั่วงอก กินได้กับอาหารทุกประเภท
ผักทั้ง 3 ชนิด ยังมีสรรพคุณทางยาหลายประการ
ผักขี้หูด ใบและต้นช่วยเจริญอาหาร ขับลม เมล็ดใช้เป็นยา ช่วยย่อย แก้ร้อน ลดอาการกระหายน้ำ เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
ผักเขียวน้อย มีสรรพคุณในการยับยั้งเนื้องอก ยับยั้งการสร้าง lipid peroxide ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ต้านการอักเสบ กระตุ้นการเจริญของเส้นผม มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร มีเส้นใยสูง
ส่วนของโสน ดอกเป็นยาฝาดสมาน ใบตำผสมกับคนประส่ง และดินสอพอง พอกฝีแก้ปวด ถอนพิษ ลำต้นเผาแช่น้ำดื่มเพื่อขับปัสสาวะ
ได้เวลาหันมากินผักไทยกันแล้ว
สนใจ ผักไมโครกรีน ติดต่อ piyamon_1234@hotmail.co.th
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)